วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

คำพ้องรูป พ้องเสียง

คำพ้อง คือ คำที่เขียนรูปหรือออกเสียงตรงกัน แต่ความหมายต่างกัน
คำพ้อง แบ่งเป็น ๓ ชนิด ดังนี้

๑. คำพ้องรูป
คำพ้องรูป คือ คำที่เขียนเหมือนกัน แต่อ่านออกเสียงต่างกัน และมีความหมายต่างกัน การอ่านคำพ้องรูปให้ถูกต้องควรดูข้อความอื่นๆ ประกอบด้วยว่าคำพ้องรูปนั้น หมายถึงอะไร เเล้วจึงอ่านให้ถูก

ตัวอย่าง คำพ้องรูป
ครุ อ่านว่า คฺรุ หมายถึง ภาชนะสานชนิดหนึ่ง
คะ-รุ หมายถึง ครู, หนึ่ง
ปรามาส อ่านว่า ปฺรา-มาด หมายถึง ดูถูก
ปะ-รา-มาด อ่านว่า การจับต้อง การลูบคลำ
พยาธิ อ่านว่า พะ-ยา-ธิ หมายถึง ความเจ็บไข้
พะ-ยาด หมายถึง ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชนิดหนึ่ง
เพลา อ่านว่า เพลา หมายถึง แกน, ดุมล้อ, เบาลง
เพ-ลา หมายถึง เวลา
สระ อ่านว่า สะ หมายถึง แอ่งน้ำขนาดใหญ่, ชำระล้าง
สะ-หระ หมายถึง อักษรแทนเสียงสระ

๒. คำพ้องเสียง
คำพ้องเสียง คือ คำที่อ่านออกเสียงเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน และมีความหมายต่างกัน

ตัวอย่าง คำพ้องเสียง
เขี้ยวงู เคี่ยวน้ำแกง อ่านว่า เขี้ยว
ซ่อมเเซม ช้อนส้อม อ่านว่า ส้อม
คุณค่า ถูกฆ่า ข้าทาส อ่านว่า ค่า
สัตว์เลี้ยง ซื่อสัตว์ อ่านว่า สัด

๓. คำพ้องทั้งรูปและเสียง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คำหลายความหมาย ซึ่งหมายถึง คำที่มีรูปเหมือนกัน อ่านออกเสียงอย่างเดียวกัน เเต่มีความหมายหลายอย่างเเล้วเเต่จะนำไปใช้

ตัวอย่าง คำพ้องทั้งรูปและเสียง
คำว่า "ขัน" อ่านว่า ขัน หมายถึง ๑. ภาชนะสำหรับตักหรือใส่น้ำ
๒. ทำให้ตึงหรือเเน่นด้วยวิธีหมุนเข้าใป เช่น ขันนอต
๓. อาการร้องเป็นเสียงอย่างหนึ่งของไก่
๔. หัวเราะ รู้สึกตลก
คำว่า "แกะ" อ่านว่า แกะ หมายถึง ๑. ชื่อสัตว์ ๔ เท้า ประเภทหนึ่ง
๒. เอาเล็บมือค่อยๆ แกะ เพื่อให้หลุดออก
คำว่า "เงาะ" อ่านว่า "เงาะ" หมายถึง ๑. คนป่าพวกหนึ่ง รูปร่างเตี้ย ตัวดำ ผมหยิก
๒. ชื่อผลไม้ชนิดหนึ่ง

1 ความคิดเห็น: